top of page

ดร.จรินทร์ สวนแก้ว

ประธานกรรมการมูลนิธิ ๕ ธันวามหาราช  ปี ๒๕๔๕ ถึงปีปัจจุบัน (๒๕๕๙)

๑. ประวัติส่วนตัว

๑) ดร.จรินทร์ สวนแก้ว เป็นชาวบางแค กรุงเทพมหานคร    .

๒) คู่สมรส  : รศ.พัชรี สวนแก้ว รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต   .

๓) มีบุตร ๓ คน เป็นชาย ๒ คน หญิง ๑ คน 

  (๑) นายชุณยวัจน์ สวนแก้ว เจ้าหน้าที่บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)    .

 (๒) พันตำรวจโท ดร. ชนะเทพ สวนแก้ว สารวัตร ส.ทท.๘ กก.๒ บก.ทท.    .

 (๓) นางสาวปณิดาภา สวนแก้ว นักวิชาการพาณิชย์ชำนาญการ         กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์    

 ๔) ที่อยู่ปัจจุบัน เลขที่ ๙๐๕ ซอยส่วนบุคคล ถนนเพชรเกษม แขวงบางแค เขตบางแค กรุงเทพมหานคร ๑๐๑๖๐ โทรศัพท์ ๐๒-๔๕๔๒๗๒๐,๐๒-๓๕๖๐๐๕๐-๒ ,๐๘๕-๖๗๕๕๕๕๕,๐๘๙-๖๖๔๕๕๕๕ โทรสาร ๐๒-๓๕๖๐๐๕๐-๑ ต่อ ๒๑.    .

๒. ตำแหน่งหน้าที่ปัจจุบัน

๑) ประธานมูลนิธิ ๕ ธันวามหาราช        .

๒) กรรมการสภามหาวิทยาลัยสวนดุสิต     .

๓) นายกสมาคมมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี    .

๓. ประวัติการศึกษา

๑)  ปี ๒๕๑๐ Dip.in Eng. Language Cambria Adult School U.S.A.     .

๒) ปี ๒๕๑๕ B.S.Business Administration Woodbury College U.S.A. 

๔. ประวัติการรับราชการ. 

๕. ประวัติการทำงานภาคเอกชน

๓) ปี ๒๕๔๖ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง     .

๔) ปี ๒๕๔๗ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง  .

๕) ปี ๒๕๕๓ รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี    .

๑) ผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี 

๒) ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย         .

๓) ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ข้าราชการบำนาญ ตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย    .

๑) พ.ศ. ๒๕๒๐ - ๒๕๒๒ เป็นคณะกรรมการและเลขานุการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ “๕ ธันวามหาราช”   .

๒) พ.ศ. ๒๕๒๒- ๒๕๒๕ เป็นเลขาธิการมูลนิธิ ๕ ธันวามหาราช และคณะกรรมการและเลขานุการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ “๕ ธันวามหาราช” และงานเฉลิมพระเกียรติ “๑๒ สิงหาพระบรมราชินีนาถ”   

๓) พ.ศ. ๒๕๔๕ - ปัจจุบัน เป็นประธานคณะกรรมการมูลนิธิ ๕ ธันวามหาราช จัดงานเฉลิมพระเกียรติ “๕ ธันวามหาราช” และงานเฉลิมพระเกียรติ “๑๒ สิงหาพระบรมราชินีนาถ” จนถึงปัจจุบัน      .

๔) พ.ศ. ๒๕๕๕ ริเริ่มจัดงานเฉลิมพระเกียรติ “๖๐ พรรษามหาวชิราลงกรณ” และ๖๑,๖๒,๖๓ พรรษาถึงปีปัจจุบัน ๒๕๕๘   

๕) พ.ศ. ๒๕๕๘ ริเริ่มจัดงานเฉลิมพระเกียรติ “๖๐ พรรษาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี”   

๖. ความริเริ่มและผลงานที่สำคัญ

๑) ดร.จรินทร์ สวนแก้ว เป็นผู้มีความจงรักภักดีในสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นอย่างยิ่ง โดยได้อุทิศทั้งกาย ทั้งเวลา และความคิดในการแสดงความจงรักภักดี และเทิดพระเกียรติตลอดมา ตลอดชีวิตราชการ จนปัจจุบัน    .

๒) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นผู้ริเริ่มจัดงาน ๕ ธันวามหาราช ซึ่งเป็นงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช โดยร่วมกับองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน ข้าราชการพลเรือน ตำรวจ และทหารทุกเหล่าทัพ รวมทั้งประชาชน ทุกสาขาอาชีพต่าง และจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๒๐ เป็นต้นมา จนปัจจุบัน(๒๕๕๙) เป็นเวลา ๓๙ ปีแล้ว .

๓) และนอกจากนั้นเป็นผู้ก่อตั้งมูลนิธิ ๕ ธันวามหาราช ตั้งแต่ปี ๒๕๒๒ เพื่อเป็นองค์กรหลักในการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ ๕ ธันวามหาราช และ ๑๒ สิงหาพระบรมราชินีนาถ และงานเฉลิมพระเกียรติต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยได้ดำรงตำแหน่งกรรมการและเลขานุการมูลนิธิ ๕ ธันวามหาราช     .

๖.๑ หากกล่าวในส่วนของผลงานที่สำคัญของมูลนิธิ ๕ ธันวามหาราช แล้ว มีดังนี้

๔) เนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๒ จึงได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการมูลนิธิ ๕ ธันวามหาราช ในปี พ.ศ. ๒๕๔๕ จนถึงปัจจุบัน จึงนับได้ว่าเป็นผู้บริหารมูลนิธิ ๕ ธันวามหาราช ที่ไดเปฏิบัติงานเฉลิมพระเกียรติ สถาบันพระมหากษัตริย์อย่างต่อเนื่อง และสมพระเกียรติ จนเป็นการทำให้มูลนิธิ ๕ ธันวามหาราช มีความมั่นคง และก้าวหน้า เป็นที่ยอมรับของสังคมมาโดยลำดับ       .

๕) จนได้รับมอบหมายจากรัฐบาล ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๘ ให้เป็นองค์กรหลักในการจัดงานเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวามหาราช และ ๑๒ สิงหาพระบรมราชินีนาถ เป็นประจำทุกปี ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาพ.ศ. ๒๕๒๐             .

๑) เป็นองค์กรหลักในการจัดงาน “๕ ธันวามหาราช” และงาน “๑๒ สิงหาพระบรมราชินีนาถ” ร่วมกับองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน ข้าราชการพลเรือน ตำรวจ ทหารทุกเหล่าทัพ รวมทั้งพนักงานองค์กรรัฐวิสาหกิจ และประชาชนทุกสาขาอาชีพ ทั้งในกรุงเทพมหานคร และจังหวัดต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร เพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระพรชัยมงคล แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ซึ่งมีการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลอง และพิธีการต่างๆ เพื่อเผยแพร่พระเกียรติคุณให้เป็นที่ประจักษ์ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ เป็นประจำทุกปี     .

๒) เป็นองค์กรหลักร่วมกับภาครัฐ ภาคเอกชน รวมทั้งข้าราชการฝ่ายต่างๆ และประชาชนทั่วประเทศ ร่วมกันลงนามถวายพระราชสมัญญา “มหาราช” แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ ทรงพระนามว่า “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช”          .

๓) สร้าง “หอเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช” บริเวณหอสมุดแห่งชาติ ท่าสุกรี เป็นเงินค่าก่อสร้างทั้งสิ้น ๓๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สามสิบสองล้านบาทถ้วน)  .

๔) รายได้จากการจัดงาน “๕ ธันวามหาราช” ๒๕๒๗ ทูลเกล้าฯ ถวายสมทบทุนสร้างตึก ภปร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน ๒๗,๐๐๐,๐๐๐ บาท (ยี่สิบเจ็ดล้านบาทถ้วน)  

๕) นำรายได้จากการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ “๕ ธันวามหาราช” และงาน “๑๒ สิงหาพระบรมราชินีนาถ” ทูลเกล้าฯ ถวาย โดยเสด็จพระราชกุศลตามลำดับดังนี้               .

๑) ครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๒๐ จำนวน ๓๓๙,๙๙๙ บาท     .

๒) ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๒๖ จำนวน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท  

๓) ครั้งที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๒๖ จำนวน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท     .

๔) ครั้งที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๓๒ จำนวน ๒๗,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สร้างตึก ภปร)        .

๕) ครั้งที่ ๕ พ.ศ. ๒๕๓๙ จำนวน ๓,๐๐๐,๐๐๐ บาท .

๖) ครั้งที่ ๖ พ.ศ. ๒๕๔๕ จำนวน ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท       .

๗) ครั้งที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๔๖ จำนวน ๙,๐๐๐,๐๐๐ บาท   .

๘) ครั้งที่ ๘ พ.ศ.๒๕๔๗ จำนวน ๗,๐๐๐,๐๐๐ บาท        .

๙) ครั้งที่ ๙ พ.ศ. ๒๕๔๘ จำนวน ๓๗,๓๘๖,๑๙๑ บาท 

๑o) ครั้งที่ ๑๐ พ.ศ. ๒๕๕๑ จำนวน ๕๐๐,๐๐๐ บาท     

๑๑) ครั้งที่ ๑๑ พ.ศ. ๒๕๕๑ จำนวน ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท     .

๖) เป็นองค์กรหลักร่วมกับองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน ข้าราชการฝ่ายพลเรือน ตำรวจ ทหารทุกเหล่าทัพ พนักงานรัฐวิสาหกิจ และประชาชนสาขาอาชีพต่างๆ จัดงานเฉลิมพระเกียรติและเฉลิมฉลองในวโรกาสราชาภิเษกสมรสครบ ๕๐ ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ณ บริเวณมณฑลพิธีท้องสนามหลวง ในระหว่างวันที่ ๒๗ – ๒๘ เมษายน ๒๕๔๓   .

และได้สร้างระฆังทองคำขนาดกว้าง ๕.๙ เซนติเมตร สูง ๙ เซนติเมตร หนักใบละ ๕๐ บาท ทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ  

และได้จัดสร้างระฆังทองเหลืองจำลองคู่ ขนาดกว้าง ๕๙ เซนติเมตร สูง ๑๓๙ เซนติเมตรนำไปประดิษฐาน ณ หอเฉลิมพระเกียรติ พระอารามหลวงวัดยานนาวา ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เนื้อที่ประมาณ ๕ ไร่ มูลค่าประมาณ ๑,๒๐๐ ล้านบาท สำหรับสร้างหอเฉลิมพระเกียรติตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิ ๕ ธันวามหาราช           .

๗) เมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๔๙ มูลนิธิ ๕ ธันวามหาราช ให้มอบเงินจำนวน ๑,๐๐๐,๐๐๐ แก่ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เพื่อช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ประสบอุทกภัย    .

๘) เป็นองค์กรหลักในการจัดงานถวายพระพรและงานฉลองสิริราชสมบัติ ๖๐ปี ระหว่างวันที่ ๕-๙ มิถุนายน ๒๕๔๙ ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวงและในโอกาสนี้ มูลนิธิ ๕ ธันวามหาราชได้จัดสร้าง สมเด็จพระนวมินทรศาสดาทองคำ หนัก ๘๐๐ บาทเพื่อน้อมเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในนามพสกนิกรชาวไทย ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณล้นพ้น                                                     .

๙) ปีพุทธศักราช ๒๕๕๕ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๖๐ พรรษา ซึ่งมูลนิธิ ๕ ธันวามหาราช ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชานุญาตให้จัดงานบำเพ็ญกุศลและกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ “๖๐ พรรษามหาวชิราลงกรณ” ระหว่างวันที่   ๒๗-๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๕ และ “๖๑ พรรษา มหาวชิราลงกรณ” ระหว่างวันที่ ๒๖-๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๖ ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง                                     

๑๐) ปีพุทธศักราช ๒๕๕๘ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๖๐ พรรษา “มูลนิธิ ๕ ธันวามหาราช” ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชานุญาตให้จัดงานบำเพ็ญกุศลและกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ “๖๐ พรรษาพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ระหว่างวันที่ ๑-๓ เมษายน ๒๕๕๘ ณ บริเวณมณฑลพิธีท้องสนามหลวงร    .

 ๗. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดที่ได้รับ

มหาวชิรมงกุฎ ชั้นสูงสุด (ม.ว.ม.๕ ธ.ค.๔๑ สาย ๓ ปี ๒๕๔๑ เล่มที่๑๑๕ ตอน ๒๓ข. ลว.๒ธ.ค.  ๒๕๔๑)ร    .

 ๘. รางวัลและเกียรติคุณที่ได้รับ

๑) พ.ศ. ๒๕๔๐ ได้รับพระราชทานโล่รางวัล “มงคลวรานุสรณ์” ในวัน มหิดลประจำปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ด้วยที่สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ได้รับพระราชทานพระกรุณาสำหรับบุคคลที่มีผลงานดีเด่นด้านสังคมสงเคราะห์ และอยู่ในศีลธรรมอันดี สมควรถือเป็นแบบอย่างได้ 

๒) พ.ศ. ๒๕๔๗ ได้รับพระราชทานปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัย รามคำแหงในฐานะผู้นำองค์กร มูลนิธิ ๕ ธันวามหาราช จัดงานเฉลิมพระเกียรติ “๕ ธันวามหาราช” และงาน “๑๒ สิงหาพระบรมราชินีนาถ” ซึ่งเป็นองค์หลัก ในการจัดงานร่วมกับองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน ข้าราชการพลเรือน ตำรวจ ทหารทุกเหล่าทัพ และประชาชนสาขาอาชีพต่างๆ เป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๐       .

เป็นการประสานความจงรักภักดีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และ พระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ ให้เป็นที่เคารพ สักการะสูงสุดของประชาชน ชาวไทย และเผยแพร่พระเกียรติคุณให้ขจรขจายไปทั้งในประเทศ และต่างประเทศ .

ณัฏฐพัชร์ จันทร์แม้น รวบรวม                           

 ดุลยวัฒน์  พุทธคยา  บันทึก

bottom of page